Wednesday, November 21, 2007

พระโพธิสัตว์วัชรปาณิ

กิมกังชิ้ว ในจีน ,กองโคชุ ในญี่ปุ่น,ฉักนา ดอรเจ ในทิเบต พระนามแปลว่า ผู้ถือวัชระไว้ในพระหัตถ์ ดังนั้นสัญลักษณ์ของพระองค์คือวัชระ สัญลักษณ์ของพลังอันรุนแรง แข็งแกร่ง และเฉียบพลัน ด้วยพระวรกายสีน้ำเงินและทรงวัชระ เราอาจจดจำพระองค์ได้ว่าอยู่ในสายตระกูลแห่งพระอักโษภยะ(วัชรวงศ์)พระองค์เป็นบุคคลาธิษฐานแห่งกำลังของพระพุทธเจ้าในการทำลายกิเลส สู่การตรัสรู้
พระองค์น่าจะกลายมาจากพระอินทร์ของพระเวทเดิม ด้วยมีสัญลักษณ์วัชระและความเกี่ยวข้องต่อเรื่องฟ้าฝนเช่นเดียวกัน


พระวัชรปาณิ ในฐานะผู้ปกป้องพระพุทธองค์ อยู่ทางขวาของพระพุทธเจ้า ศิลปะคันธาระที่เมืองHaddaในอัฟกานิสถาน ราวพุทธศตวรรษที่6 พระวัชรปาณิแบบนี้ได้เค้ารูปทรงมาจากรูปเฮอคิวลิสเพราะสร้างโดยนายช่างชาวกรีก(หรือนายช่างในตระกูลศิลปะกรีก)


แสดงภาพขยายพระวัชรปาณิ ทรงวัชรแบบกิ่งเดียว


พระวัชรปาณิแบบเฮอคิวลิส(เป็นชื่อเรียกทางศิลปะ) ศิลปะคันธาระอีกชิ้นหนึ่ง


ขวาของพระพุทธเจ้าคือพระวัชรปาณิ สังเกตวัชระที่ถืออยู่ ศิลปะอินเดียสมัยมถุรา ราวพุทธศตวรรษที่7


พระวัชรปาณิศิลปะอินเดียสมัยปาละ ราวพุทธศตวรรษที่13-14 สมบัติของ Metropolitan Museum of Art, New York


พระวัชรปาณิ ที่ จันทิ เมนดุต ศิลปะชวา ราวพุทธศตวรรษที่13


ในศิลปะทิเบตมักแสดงภาพพระองค์ในปางพิโรธเป็นส่วนมาก ทรงวัชระชูขึ้นในพระหัตถ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายทรงเชือก สัญลักษณ์แห่งการจับอสูรหรือมาร คือกิเลสต่างๆมาทำลาย ทรงอาภรณ์อย่างเทวะปางพิโรธทั่วไป และเพลิงรัศมีลุกโชนข้างหลัง


พระวัชรปาณิในปางของพระโพธิสัตว์หนุ่ม ทรงอาภรณ์อย่างกษัตริย์ ในศิลปะทิเบตจะแสดงภาพพระองค์ปางนี้แบบเดี่ยวๆไม่บ่อยนัก มักจะแสดงคู่กับพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ในฐานะบริวารแห่งพระอมิตาภะ โดยมีพระอมิตาภะเป็นประธานของภาพ


อาเคียว(Agyo)หรือ กองโค ริกิชิ(Kongo rikishi)พระวัชรปาณิในญี่ปุ่นที่เป็นภาคพระโพธิสัตว์(กองโคชุ โบสัตสึ)นั้นไม่ค่อยแพร่หลายมากเท่ากับในภาค กองโค ริกิชินี้ ซึ่งมีหน้าที่คล้ายทวารบารอยู่ที่หน้าประตูทางเข้าวัด พระพักตร์พิโรธ พระวรกายกำยำ กล้ามเนื้อเด่นชัด รูปนี้สูงราว8เมตรครึ่ง ศิลปะสมัยกามากุระ สลักจากไม้ อยู่ที่วัดโตได เมืองนาระ ประเทศญี่ปุ่น สังเกตวัชระขนาดใหญ่ในพระหัตถ์ขวา

1 comment:

Unknown said...

อยากทราบมนตราประจำพระองค์ด้วยครับ