พระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปที่จะมาตรัสรู้ในภัทรกัลป์นี้ ในพระไตรปิฎกปรากกฏที่พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้ไว้สั้นๆใน จักกวัตติสูตร และ พุทธวงศ์ พุทธปกิรณกกัณฑ์ ส่วนในคัมภีร์ชั้นหลังมีกล่าวไว้มากแห่ง เช่นในอนาคตวงศ์ แต่งโดยพระกัสสปะเถระชาวอินเดียใต้ราวพุทธศตวรรษที่18 หรือในอมตรสธาราเป็นต้น
ในงานพุทธศิลปะทิเบต มีทั้งที่แสดงภาพพระองค์ในฐานะของพระพุทธเจ้าและฐานะพระโพธิสัตว์
มีสัญลักษณ์คือ
-พระสถูปบนศีรษะหรือบนมงกุฏสัญลักษณ์แทนการเคารพแด่พระศากยมุนีพุทธเจ้า หรือบ้างก็ว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระสถูปที่เก็บบริขารไว้ภายในและจะทรงได้รับเมื่อทรงออกผนวชในชาติที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
-ธรรมจักร์ แสดงถึงการประกาศพระธรรม
-หม้อน้ำ หรือแจกัน ซึ่งบรรจุน้ำอมฤต สัญลักษณ์ของการรักษาไว้ซึ่งพระธรรมอันบริสุทธิ์
พระไมเตรยโพธิสัตว์ สวมมงกุฏพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ สูงประมาณ15เมตร พระดำริสร้างโดยองค์ดาไลลามะที่14 เมื่อปี2523
เมื่อครั้งเสด็จที่วัด ถิกเซ เมืองลาดัก ประเทศอินเดีย
พระไมเตรยโพธิสัตว์ ศิลปะทิเบต
พระไมเตรย ศิลปะมองโกล ยังคงรูปพระสถูปและหม้อน้ำเป็นสัญลักษณ์
พระไมเตรยในรูปของพุทธเจ้า ศิลปะทิเบต ราวพุทธศตวรรษที่23(The Norton Simon Museum)
พระไมเตรยโพธิสัตว์ ศิลปะคันธาระราวพุทธศตวรรษที่7 สังเกตหม้อน้ำที่ปรากฏเสมอ
ในศิลปะมถุรา ซึ่งมีความเป็นอินเดียแท้มากกว่าคันธาระก็ใช้สัญลักษณ์เดียวกัน คือมีหม้อน้ำเล็กๆที่พระชานุ(เข่า)
มิโรกุ โบสัตซึ หรือพระไมเตรยโพธิสัตว์ในชื่อญี่ปุ่น ในท่านั่งพิจารณาถึงสรรพสัตว์ เป็นท่าคลาสสิคของพระไมเตรยที่นิยมในญี่ปุ่น
(จากวัดชูคูจิ ราวพุทธศตวรรษที่12)
Thursday, November 15, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment